คุณเป็นหนึ่งคนที่มักมีอาการเจ็บปวดบริเวณคอและบ่าไหล่หลังจากการนั่งทำงานหน้าจออคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันหรือไม่ หรือ คุณเป็นหนึ่งคนที่เคยมีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอย่างหนักหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางกีฬาหรือไม่ ถ้า เป็นไปได้คงไม่มีใครอยากมีอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตามเมื่อความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องพยายามหา หนทางเพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์เหล่านั้น มีหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยให้ลดอาการเจ็บปวดได้ แต่วิธีหนึ่งที่คนเลือก ใช้มากที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีที่รวดเร็วคือการรับประทานยาแก้ปวด ถึงแม้ว่าเราจะรู้ดีว่าการรับประทานยาแก้ปวดสามารถ ส่งผลร้ายต่อร่างกายของเรา แต่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วเราก็มักจะละเลยผลกระทบของยาเหล่านี้ อย่างไรก็ตามถ้า คุณต้องการลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา เรามากินอาหารเป็นยา เพื่อจะได้ไม่ต้องกินยาเป็นอาหารกันเถอะ
1. ขิง
ขิงมีประวัติการใช้มายาวนานในตำรับยาหลายขนานและหลายวิธีการในทางการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่อง คุณสมบัติ ของขิงในการลดอาการคลื่นไส้ นอกจากนั้นขิงยังสามารถให้การบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดหัวไมเกรน และอาการปวดหลังการผ่าตัด เนื่องจากขิงมีสารประกอบทางเคมีคือ 6-จิงเจอรอล ที่สามารถต้าน ความเจ็บปวดและลดอาการอักเสบนั่นเอง
2. พริก
พริกมีสารที่ให้ความร้อนชื่อสารแคปไซซินเป็นตัวบรรเทาอาการปวดที่รู้จักกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบครีม สารแคปไซซินถูกใช้มานานหลายปีในการรักษาอาการปวดที่เกี่ยวเนื่องกับโรคข้อเข่าเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ และ fibromyalgia (อาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกหลายจุดทั่วร่างกายร่วมกับอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง) รวมทั้งอาการปวดข้อ บางชนิด การวิจัยเบื้องต้นบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าการกินพริกเผ็ด แทนที่จะทาครีมที่มีสารแคปไซซินไว้บนผิวหนัง อาจลดและ ป้องกันการอักเสบได้เช่นกัน นอกจากนี้พริกยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่นเช่นรักษาโรคสะเก็ดเงิน ควบคุมระดับ น้ำตาลในโรคเบาหวาน และช่วยลดน้ำหนัก
3. สะระแหน่
น้ำมันสะระแหน่มีสาร แอล-เมนทอล ช่วยบรรเทาอาการปวดตะคริว มีลมในท้องและท้องอืดซึ่งเป็นอาการของ โรคลำไส้ แปรปรวน สามารถใช้ทาเพื่อช่วยบรรเทาอาการคันและการอักเสบเนื่องจากผื่นแพ้และลมพิษ นอกจากนี้การรับประทาน เมนทอลยังสามารถบรรเทาอาการโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ หวัด ไข้หวัดใหญ่ และ โรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ อีกด้วย
4. ขมิ้น
ขมิ้นมีสารเคอร์คูมิน ที่เป็นสารประกอบในเครื่องเทศที่ทำให้แกงมีสีเหลืองส้มสดใส มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ สามารถลด อาการปวดต่อต้านมะเร็งและต่อต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาของผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบและโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งได้รับ เคอร์คูมินเป็น อาหารเสริม พบว่าพวกเขาสามารถเดินได้ดีขึ้นและไม่มีผลข้างเคียงจากการทานยา เมื่อทานพร้อมกับ พริกไทยดำสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารสำคัญตัวนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
5. ผลไม้จำพวกเบอร์รี่
ผลเบอร์รี่เป็นผลไม้ขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยเส้นใย วิตามิน และธาตุอาหารที่พบได้มากที่สุดในสตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และแบล็คเบอรี่ ผลเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า แอนโทไซยานิน สารสำคัญตัวนี้อาจมีผลช่วยลด การอักเสบ และ บรรเทาอาการปวด
6. เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทอง ¼ ถ้วยประกอบด้วยแมกนีเซียมเกือบครึ่งหนึ่งที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน แมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้อ ผ่อนคลายจึงสามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อ รวมทั้งลดอาการปวดเส้นประสาทอีกด้วย
7. แซลมอน
แซลมอนเต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ กรดไขมันโอเมก้า -3 ยังมีคุณสมบัติบรรเทาอาการภูมิแพ้ตัวเอง และลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคซึมเศร้า และ มะเร็ง แหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีสามารถพบได้ในปลาน้ำเค็มชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่นจากปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล
8. น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์
น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มีสารประกอบที่เรียกว่าโอลีโอแคนทาลมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดเหมือน ยาไอบูโพรเฟน น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษยังมีสารหล่อลื่นซึ่งช่วยให้ข้อต่อเลื่อนได้อย่างราบรื่นและป้องกันกระดูกอ่อน จากการทำลายซึ่งอาจมีส่วนช่วยในคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้อีกด้วย
9. ถั่วเหลือง
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเช่นเต้าหู้ เทมเป้หรือ เอดะมาเมะ (ถั่วแระญี่ปุ่น) ได้เคยใช้ทานเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดสำหรับ คนที่ทุกข์ทรมานจากโรคข้อเข่าเสื่อม มีหลักฐานเป็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมาแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วม วิจัยที่กินถั่วเหลือง 40 กรัมต่อวันเป็นเวลานานสามเดือน มีอาการปวดข้อน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนม
10. ไวน์แดง
ไวน์แดงมีสารประกอบที่เรียกว่าเรสเวอราทอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ งานวิจัยเกี่ยวกับเรสเวอราทอลพบว่าสามารถช่วย บรรเทาอาการบวมของข้อต่อกระดูกสันหลังที่ส่งผลให้ปวดหลัง นอกจากนี้เรสเวอราทอลยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพหลากหลายประการ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เราใช้ หากใช้สารตัวนี้ที่ปริมานความเข้มข้นสูงจะช่วยป้องกัน โรคมะเร็ง แต่ถ้าใช้ในปริมาณความเข้มข้นต่ำๆ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยที่การบริโภคไวน์แดงควรอยู่ในปริมาณที่ เหมาะสม ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 4 ออนซ์หรือ 125 มล.